Karb Studio เปิดแง่มุมความง่ายและงามของอาหาร

http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=208229&catid=232&Itemid=622#.U60FXvmSy7g

Karb Studio เปิดแง่มุมความง่ายและงามของอาหาร

    Karb Studio เปิดแง่มุมความง่ายและงามของอาหารในธุรกิจอาหาร นอกเหนือไปจากรสชาติของอาหารนั้นๆ แล้ว ปัจจัยที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือ หน้าตาของอาหารและบรรจุภัณฑ์ หรือหากเป็นร้านอาหาร บรรยากาศและการตกแต่งร้านโดยรวม เรื่อยไปจนถึงเมนูหรือภาชนะที่ใช้เสิร์ฟก็จัดว่าเป็นองค์สุทธิพงษ์ สุริยะสุทธิพงษ์ สุริยะประกอบที่สำคัญ และยิ่งสำคัญมากขึ้นไปอีกในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นโลกของโซเชียลเน็ตเวิร์ก ที่ผู้คนรักการแชร์สิ่งต่างๆ ให้คนอื่นได้รับรู้ ยิ่งหน้าตาของอาหารมีความสวยงามหรือสะดุดตามากขึ้นเท่าไหร่  ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น ด้วยสาเหตุนี้เองอาชีพ "ฟูดสไตลิสต์" (Food Stylist) หรือผู้เชี่ยวชาญการออกแบบและสร้างสรรค์ภาพลักษณ์ให้กับอาหารจึงเกิดขึ้นและเป็นที่ต้องการในตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในประเทศไทย หากจะพูดถึงอาชีพนี้ เชื่อได้ว่าชื่อแรกที่ผุดขึ้นมาในใจใครหลายคนก็คือชื่อของ สุทธิพงษ์ สุริยะหรือขาบ กรรมการผู้จัดการบริษัท ขาบ สไตล์ จำกัด  ผู้ก่อตั้ง "Karb Studio" ผู้ให้บริการด้านสร้างภาพลักษณ์ให้ธุรกิจอาหารครบวงจรรายแรกของประเทศไทย5204
    โดยฟูดสไตลิสต์ชั้นนำที่คร่ำหวอดในวงการศิลปะและอาหารมากว่า 16 ปี ได้เล่าย้อนให้ฟังถึงแรงบันดาลใจในการเลือกเดินบนถนนสายนี้ว่า เนื่องจากธุรกิจของครอบครัวนั้นทำธุรกิจซื้อขายวัตถุดิบทางการเกษตรและร้านอาหาร จึงทำให้ตนเองมีความสนใจและคลุกคลีกับอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องวัตถุดิบมาตั้งแต่เด็ก ซึ่งนั่นเองเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เขากลายเป็นฟูดสไตลิสต์ที่มีความโดดเด่นไม่แพ้ใครในเวลาต่อมา
    "ตั้งแต่เด็ก ผมเชื่อมาตลอดว่า วัตถุดิบทางการเกษตรของไทยมีความงามอยู่ในตัวมันเอง ส่วนเมื่อโตขึ้นมา ส่วนตัวผมก็มีความสนใจในงานศิลปะและงานสร้างสรรค์แขนงต่างๆ ซึ่งก่อนที่เลือกเดินเส้นทางฟูดสไตลิสต์อย่างเต็มตัว ก็ได้มีโอกาสทำงานด้านดีไซน์เกี่ยวกับอาหารให้กับแม็กกาซีนหลายเล่ม และเคยเป็นครีเอทีฟให้กับเอเยนซีโฆษณาด้วย ทำให้เราเข้าใจถึงแนวคิดของพาณิชย์ศิลป์ การประยุกต์ไลฟ์สไตล์ของคนเข้ากับการทำธุรกิจ ซึ่งปัจจัยทั้งหมดนี้มีส่วนช่วยหล่อหลอมให้ผมกลายมาเป็นฟูดสไตลิสต์อย่างทุกวันนี้"
5202    หลังจากทำงานฟรีแลนซ์และเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์ในธุรกิจอาหารจนมากพอแล้ว สุทธิพงษ์จึงตัดสินใจเปิด "Karb Studio" ขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อราว 9 ปีที่แล้ว เพื่อให้บริการสร้างด้านภาพลักษณ์ให้กับธุรกิจอาหารอย่างครบวงจร ซึ่งใน
    ปัจจุบันมีตั้งแต่ Food Styling เน้นสื่อความงามของวัตถุดิบอาหาร Food Packaging Design ปรับโฉมบรรจุภัณฑ์อาหารให้มากไปด้วยสไตล์และรสนิยม Food Publication Design ออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์อาหารทุกชนิด เรื่อยไปจนถึง Shop& Restaurant Development ให้คำแนะนำและปรับโฉมร้านค้าหรือร้านอาหารต่างๆ ให้มีดีไซน์โดดเด่นทันสมัย (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.karbstyle.com)
    "ตอนที่ผมตัดสินใจจะเปิด ‘Karb Studio’ ผมไม่รู้เลยว่าธุรกิจนี้จะเกิดหรือดับ เพราะตอนนั้นถือเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับประเทศไทย แต่ผมก็ลองมานั่งคิดวิเคราะห์ดูว่า ประเทศของเราเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยวัตถุดิบการเกษตร เป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก แต่ทำไมผู้เชี่ยวชาญหรือธุรกิจด้านฟูดสไตลิสต์ถึงแทบไม่มี ผมมองเห็นช่องว่างตรงนี้ ก็เลยคิดที่จะทำบริษัทให้เป็นเรื่องเป็นราว  จนถึงตอนนี้ก็เรียกได้ว่าเราเป็นผู้ให้บริการด้านนี้อย่างครบวงจรรายแรกของประเทศ"
    นอกจากนี้สุทธิพงษ์ยังมีผลงานอื่นอีกมากมายที่ก่อเกิดมาจากรากเหง้าในความรักอาหารและศิลปะ เช่น ผลงานพ็อกเกตบุ๊กเกี่ยวกับอาหารหลายเล่มซึ่งได้รับรางวัลการันตีมากมายจากงานประกวดตำราอาหารระดับโลกอย่าง Gourmand World Cookbook Awards ประเทศสเปน ด้วยประสบการณ์มากมายและผลงานที่หลากหลายในแวดวงธุรกิจอาหาร ทำให้วันนี้ชื่อของสุทธิพงษ์และ "Karb Studio" ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าในแวดวงธุรกิจอาหารมากมาย ซึ่งเขาไม่เคยหยุดมองหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ เพื่อนำไปพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้นต่อไป  เมื่อถามถึงแผนการในอนาคต  เขาบอกว่า นอกจากงานหลักในการบริหาร "Karb Studio" แล้ว  ยังมุ่งมั่นในการนำความรู้ความเชี่ยวชาญที่ตนมีเผยแพร่ให้กับสังคมในวงกว้างที่สุดเท่าที่จะมากได้ ผ่านการเป็นวิทยากรรับเชิญและเป็นอาจารย์พิเศษให้กับมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่ง รวมถึงการทำงานให้กับมูลนิธิและโครงการหลวงหลายโครงการอีกด้วย
5203
**ฟูดสไตลิสต์แบบ "ขาบ"    "ความสวยของอาหารที่แท้จริงไม่ได้เกิดจากการปรุงแต่ง หากเกิดจากการดึงศักยภาพของวัตถุดิบแต่ละชนิดออกนำเสนอให้ดูน่าสนใจอย่างเป็นธรรมชาติ" สุทธิพงษ์เล่าให้ฟังถึงแนวคิดหลักในการทำงานของเขา ซึ่งสะท้อนออกมาให้เห็นในทุกๆ ผลงานที่เขามีส่วนร่วม  และยังบอกต่ออีกว่า การเป็นฟูดสไตลิสต์ที่ดีจะต้องใส่คุณค่าให้กับอาหารให้ได้ก่อน มูลค่าเพิ่มถึงจะเกิดตามมา ซึ่งการจะใส่คุณค่าให้กับอาหารได้นั้นต้องเข้าใจตัวตนของวัตถุดิบ กระบวนการปรุง การจัดวาง ไปจนถึงวิธีการรับประทาน อีกปัจจัยหนึ่งที่เขาให้ความสำคัญมากก็คือ การจัดการคู่สี  ในอาหาร 1 จาน ถ้าสามารถเลือกใช้สีได้อย่างเหมาะเจาะแล้ว  ความสวยงามที่แฝงตัวอยู่ในวัตถุดิบก็จะโดดเด่นออกมาเอง โดยไม่ต้องใช้ตัวช่วยใดๆ เลย
    "งานของผมจะต้องมีความนิ่ง คือไม่มีองค์ประกอบอื่นๆ ไปกวนตัวอาหาร ความงามจะลอยออกมาเอง ในอาหาร 1 จานจะมีปัจจัยที่ทำให้เกิดความสวยงามอยู่ 2 อย่าง คือ โครงสร้างซึ่งเกิดจากการเลือกลักษณะฟอร์มของวัตถุดิบ และสีสัน  การให้สีที่จับคู่กันที่สัมพันธ์ตามทฤษฎีแม่สีสากล สำหรับผม เมื่อพูดถึงคำว่า"ขาบ"  ผมอยากให้คนนึกถึง งานที่มีความงามอันเรียบง่ายและมีคุณค่าแฝงอยู่"

ความคิดเห็น