อาหารสวยและดูดีสไตล์ Karb
http://www.somchartlee.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%B2/
อาหารสวยและดูดีสไตล์ Karb
ในฐานะนักชิมตัวยงคนหนึ่ง ผมชื่นชอบร้านอาหารที่ไม่เพียงใส่ใจกับการบริการและการออกแบบตกแต่งร้านให้เก๋ไก๋ดูดีเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการคัดสรรคุณภาพวัตถุดิบ การปรุงรสชาติให้กลมกล่อมอร่อยถูกปาก รวมถึงการจัดเรียงอาหารให้มีสีสันเตะตาน่าทาน เมนูจานไหนที่ได้ผ่านการอัพรูปขึ้น IG ของ @somchartlee แสดงว่าของเขาต้องมีดีชวนอวด
เมื่อสัปดาห์ก่อนผมมีโอกาสได้เชิญคุณขาบ สุทธิพงษ์ สุริยะ นักสร้างแบรนด์ในธุรกิจอาหารมาร่วมสัมภาษณ์ในรายการ “ตลาดนักคิด นักคิดการตลาด” ทำให้เข้าใจอย่างหนึ่งว่า “ความสวยของอาหารที่แท้จริงไม่ได้เกิดจากการปรุงแต่ง หากเกิดจากการดึงศักยภาพของวัตถุดิบแต่ละชนิดออกนำเสนอให้ดูน่าสนใจอย่างเป็นธรรมชาติ”
Appetizers
Fusion of Art & Science
แทบจะทุกอย่างในโลกนี้ล้วนมี 2 ด้าน ขาว-ดำ, ร้อน-เย็น, หยิน-หยาง, เหตุผล-อารมณ์ ฉะนั้นการผสมผสานของ 2 สิ่งเข้าด้วยกันอย่างลงตัวจึงถือเป็นเคล็ดลับสุดยอดวิชาของการใช้ชีวิตและการดำเนินธุรกิจ ในเชิงของอาหารก็เช่นกัน คุณขาบได้พูดไว้ในรายการว่าการสร้างแบรนด์ธุรกิจอาหารนั้นมันเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ นั่นคือการนำคุณค่าทางโภชนาการของอาหารและสมุนไพรไทยมาผสมผสานกับศิลปะการดีไซน์ออกแบบอาหารให้มีความเป็นมาตรฐานสากล ความสวยของอาหารในมุมมองของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกัน แต่หัวใจหลักของมันคือการสื่อสารด้วยความสดใหม่และเรียบง่าย (Fresh & Simple)
Food Branding
การจะนำพาแบรนด์ไปสู่ความสำเร็จนั้นเกี่ยวข้องกับหลายองค์ประกอบ เริ่มต้นจากคุณภาพของสินค้าและบริการ (Quality of Product/Service) ความแตกต่างที่ผู้บริโภครู้สึกได้ (Differentiation) คุณค่าที่ส่งมอบถึงมือผู้บริโภค (Value) การวางตำแหน่งสินค้า (Positioning) ความสะดวกที่ลูกค้าได้รับ (Convenience) ไปจนถึงการสื่อสารให้เกิดการรับรู้และซื้อสินค้า (Communication) และอีกหลายๆ อย่างประกอบเข้าด้วยกัน
ในธุรกิจอาหาร แบรนด์ที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มักจะมีความโดดเด่นทางรูปลักษณ์ (Physical Appearance) หรือถูกพูดถึงอยู่บ่อยๆ เพราะความรู้สึกนิยมชมชอบ (Emotional Attachment) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักเริ่มต้นโจทย์การสร้างแบรนด์จากรูปลักษณ์ไม่ว่าจะเป็นการตั้งชื่อให้โดน แต่องค์ทรงเครื่องให้ดูน่าสนใจ และตัวอย่างที่คุณขาบได้พูดไว้ในรายการคือ แบรนด์ KiinTim และ Lor Yaowaraj เรื่องราวจะเป็นอย่างไรติดตามฟังได้ในคลิปวีดีโอนี้เลยครับ
สำหรับท่านที่สนใจเรื่องการออกแบบและคำปรึกษาด้านสร้างภาพลักษณ์ให้กับธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารและสินค้าเกษตรกรรม ติดต่อได้ที่บริษัท ขาบสไตล์ จำกัด หรือที่www.facebook.com/Suthipong.Suriya
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น